ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลุ่ม แอนโนนีมัส (Anonymous) คือใคร?

กลุ่มแฮกเกอร์นิรนาม เครือข่ายนักเจาะระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศ ที่เคลื่อนไหวโดยมีจุดประสงค์ทางการเมือง

ฉายา “โรบินฮู้ดแห่งศตวรรษ 21"

จากตำนานโรบินฮู้ด ปล้นคนรวย ช่วยเหลือคนจน ทวงคืนอิสรภาพด้วยธนู อาวุธเล็กๆ ในมือ… แอนโนนีมัส ปล้นสิ่งมีค่าในโลกออนไลน์ ซึ่งก็คือข้อมูลข่าวสาร ทวงคืนสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล

ฉายา “อาชญากรไซเบอร์”

ละเมิดข้อกฎหมาย คล้ายศาลเตี้ยที่ชี้ถูกผิดเพียงคนกลุ่มเดียว

ที่มา

  • ปี 2003 กลุ่มแฮกเกอร์อิสระรวมตัวกันผ่านเว็บบอร์ด 4chan เป้าหมายแฮกเพื่อความบันเทิง
  • ปี 2008 เริ่มมีส่วนร่วมทางการเมือง โจมตีบริษัทรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ VISA – MASTER CARD – PayPal – NASA
  • ปี 2009 ปิดเว็บไซต์รัฐบาลอิหร่านในขณะมีการเลือกตั้ง และปิดเว็บไซต์ ปธน.ออสเตรเลีย ต่อต้านนโยบายกรองเว็บไซต์ของรัฐบาล
  • ปี 2011 ปิดเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ตูนีเซีย ต่อต้านนโยบายการเซ็นเซอร์ที่เกินกว่าเหตุ

ผลงานในไทย

  • 22 ตุลาคม 2015 : เจาะฐานข้อมูล CAT Telecom เข้าถึงบัญชีลูกค้ามากกว่าพันราย ต่อต้านนโยบายซิงเกิล เกตเวย์
  • 29 ตุลาคม 2015 : นายกฯ บิ๊กตู่โต้กลับ กล่าวในที่ประชุมสภาถึงหน่วยงานที่จะเข้าควบคุมอาชญากรรมไซเบอร์
  • 6 มกราคม 2016 : ออกแถลงการณ์ต่อต้านรัฐบาลไทย
“เราได้ติดตามสถานการณ์ในไทยมาตลอดหลายเดือนมีการจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นการประท้วง และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่อใครก็ตามที่ออกมาวิจารณ์คณะทหาร โครงการล่าสุดของรัฐบาลคือการเตรียมนำระบบซิงเกิลเกตเวย์มาใช้เพื่อควบคุม ดักข้อมูล และจับกุมใครก็ตามที่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของคณะทหาร และสิ่งที่เรียกเอาเองว่าศีลธรรม”
  • 9 มกราคม 2016 : โจมตีเว็บศาลไทยล่ม 296 เว็บไซต์ ค้านคดีเกาะเต่า
  • 17 ธันวาคม 2016 — เจาะระบบเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาล ประท้วงกฎหมายเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ต

บทบาท

แทรกแซงผู้ริดรอนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
“ไม่มีระบบดักข้อมูลแบบใดที่จะหยุดการโจมตีของผู้ก่อการร้าย หรือภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติทั้งในเอเชียหรือตะวันตก มันมีแต่จะช่วยให้รัฐบาลและบริษัทขนาดใหญ่จอมละโมบได้โกยกำไรมากขึ้น แต่ทำให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นลดน้อยลง” – แถลงการณ์, 6 ม.ค.59

ปัจจุบัน

การรวมตัวกันของผู้คนต่างที่มา ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ไม่รู้จักกันมาก่อน ไม่มีผู้นำหรือสมาชิกถาวร ไม่มีกฎ สมาชิกมาเพื่อแสดงออกในเรื่องเดียวกัน จะเข้า-ออกจากกลุ่มตอนไหนก็ได้ โดยพลังของมวลชนจำนวนมากที่เข้าร่วม อาจไม่ใช่แฮกเกอร์ที่เก่งที่สุด แต่วันใดวันหนึ่ง แฮกเกอร์ที่เก่งที่สุดอาจเข้าร่วมด้วยก็เป็นได้

กระบวนการ

เมื่อมีคนเปิดประเด็น หากเกิดแรงสนับสนุน ผู้คนจะแพร่กระจายข่าวผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก และไปถึงออกแถลงการณ์ทางยูทูบ

วิธีการ

โจมตีด้วยการ DDOS Attack เรียกหรือส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ตั้งใจทำลายระบบเว็บไซต์จนใช้การไม่ได้

เป้าหมาย

ไม่ใช่แค่การก่อกวน แต่ทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาล่องหน ซ่อนตัวเอง และลบตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต

ปกติแล้วการใช้อินเทอร์เน็ต มีการทิ้งร่อยรอย ฝากรอยเท้าของเราเอาไว้บนโลกไซเบอร์ อย่าคิดว่าเราจะทำอะไรก็ได้ ไม่มีใครรู้หรอกว่าเราเป็นใคร จับไม่ได้หรอก แต่ถ้าแกะรอยจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลย ไม่เชื่อลอง เอาชื่อ นามสกุลจริง หรือเอาชื่อ Username / Nickname, ฉายาส่วนตัวของเรา ไปค้นใน Google สิครับ เผลอๆ บางคน เจอใน Wikipedia อีกต่างหาก เพราะใครก็เขียนบน Wikipedia ได้ รวมไปถึง Copy บทความ หรือเรื่องราวเราไปลงตามเวบบอร์ดต่างๆ หรืออาจไปเจออะไรที่เราไม่อยากเปิดเผยก็เป็นได้การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ บนอินเทอร์เน็ตนั้น เคยมีคำพูดว่า เราอยากจะเป็นอะไรก็ได้ บนโลกออนไลน์เป็นแบบนึง บนโลกออนไลน์เป็นอีกแบบ เคยเห็นข่าวไหมครับ มือเกรียนคีย์บอร์ด แรงมาก แต่พอโดนจับ หน้าจอซื่อๆ นิ่มๆ มีเทคโนโลยี ก็ต้องมีการกำกับ ทำให้มีการเก็บข้อมูลในทุกพฤติกรรมการใช้งาน โดยจะมีการผูกด้วยเลข IP (IP Address) สามารถสืบหาตัวคนโพสต์ได้ จนมาถึงยุคนี้คือ Social Network ลองคิดตามว่า ข่าวดาราที่โดนขุด ขุดมาจากอินเทอร์เน็ต มันมีการเชื่อมโยงกันทั้งนั้นแหล่ะครับ แม้เจ้าตัวจะไม่บอกว่า IG นี้เป็นของใคร หรือเป็น Facebook ของใ

ข้อมูล การติดตามเฝ้าระวัง / บทความ / ประกาศแจ้งเตือน

แจ้งเตือนและข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้ทั่วไป 2019-08-28 แถลงการณ์เตือนภัย กรณีตรวจพบฐานข้อมูลที่คาบเกี่ยวกับเว็บไซต์การพนัน ซึ่งมีข้อมูลของคนไทยอยู่ด้วย 2019-03-28 ระวังภัย ช่องโหว่ในโปรแกรม GeForce Experience เวอร์ชันต่ำกว่า 3.18 อาจถูกใช้เพื่อประมวลผลคำสั่งอันตรายได้ ควรอัปเดต (CVE-2019-5674) 2019-03-19 ระวังภัย ช่องโหว่ path traversal ใน WinRAR อาจถูกติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องได้เมื่อขยายไฟล์บีบอัด (CVE-2018-20250) มีแพตช์แล้ว 2019-03-08 ระวังภัย ช่องโหว่ในเบราวเซอร์ Google Chrome ผู้ไม่หวังดีสามารถควบคุมเครื่องจากระยะไกล (CVE-2019-5786) มีแพตช์แล้ว 2018-05-30 แจ้งเตือนการแพร่ระบาดมัลแวร์ VPNFilter IoT botnet กระจายไปยัง 54 ประเทศทั่วโลก 2018-02-02 แจ้งเตือน มัลแวร์ขุดเงินดิจิทัลระบาดผ่านลิงก์ย่อ ประเทศไทยดาวน์โหลดสูงสุด 2018-01-05 ระวังภัย ช่องโหว่ Meltdown, Spectre อาจถูกขโมยข้อมูลในเครื่องได้ผ่านซีพียู กระทบระบบปฏิบัติการ Windows, Linux, Mac 2017-10-30 แจ้งเตือน มัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ใหม่ Bad Rabbit แพร่โดยปลอมเป็น Adobe Flash Update และผ่านช่องทาง SMB 2017-09-13 ระว